วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553
เกาะห้อง
อ. เมือง จ. พังงา
ข้อมูลทั่วไป - เกาะห้อง - เกาะห้อง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีลักษณะเป็นเขาหินปูน มีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงาม คล้ายห้องหลายๆ ห้อง เรียงต่อกันเป็นแถว มีพันธุ์พืชและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ จำนวนมาก สามารถเข้าไปชมทัศนียภาพได้ โดยการจอดเรือบริเวณหน้าเกาะและใช้เรือซีแคนูเข้าไปชมบริเวณภายในถ้ำ และรอบๆเกาะซึ่งมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค - ล่องแพ/ล่องเรือ
ถ้ำผีหัวโต
อ. อ่าวลึก จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ถ้ำผีหัวโต - ถ้ำผีหัวโต
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ถ้ำผีหัวโต เป็นถ้ำในภูเขาที่มีห้วงน้ำล้อมรอบ ภายในถ้ำแบ่งได้เป็น 2 คูหาขนาดใหญ่ มีภาพเขียนศิลปะดั้งเดิม เขียนด้วยสีแดง ดำ เหลือง น้ำตาล น้ำตาลเหลือง น้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้ม สามารถแบ่งภาพเขียนตามบริเวณที่พบได้ 23 กลุ่ม จำนวน 238 ภาพ สภาพของถ้ำโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างส่องเข้าไปถึงสามารถชมภาพเขียนได้ชัดเจน ภายในถ้ำยังมีเปลือกหอยแครงจำนวนมากทับถมกันอยู่จนกลายเป็นหิน
นอกจากจะพบภาพเขียนศิลปะดั้งเดิมที่ถ้ำผีหัวโต ยังสามารถพบภาพเขียนได้ที่แหลมไฟไหม้ แหลมถ้ำเจ้ารี และแหลมท้ายแรด ซึ่งแต่ละแห่งก็มีความสวยงามตามธรรมชาติแตกต่างกันไปด้วย
กิจกรรม - ชมวัฒนธรรมประเพณี - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้
วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
อ. อ่าวลึก จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ธารโบกขรณี - อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
ภาพเขียนโบราณ ลำธารมรกต
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ครอบคลุมพื้นที่ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบที่มีธารน้ำไหลลอดภูเขา เหมาะสำหรับการพักผ่อน เล่นน้ำ พบแหล่งศิลปะ ถ้ำจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนสีโบราณที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม
ธารโบกขรณี เดิมชื่อ "ธารอโศก" ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ 37.5 ไร่ เป็นป่าดงดิบอยู่ในระหว่างหุบเขา เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีธารน้ำไหลลอดภูเขาผ่านบริเวณนี้แล้วไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลแหลมสัก ต้นน้ำเกิดจากเขาถ้ำน้ำผุด เขาถ้ำเพชร ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กิโลเมตร แล้วไหลมาตามลำคลอง เรียกว่า "คลองอ่าวลึก" ในปี พ.ศ. 2496 นายวิเวก จันทโรจน์วงค์ ข้าหลวงประจำจังหวัดกระบี่ ได้แวะมาเยี่ยมชมธารอโศกแล้วเห็นว่า สถานที่นี้มีความสวยงามควรที่จะได้สงวนไว้เป็นพื้นที่ของทางราชการ เพื่อจะได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ไม่ให้ราษฎรเข้าบุกรุกถือครอง จึงได้สงวนไว้เป็นของทางราชการตั้งแต่นั้นมา ในปลายปี 2496 พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจราชการที่อำเภออ่าวลึก ได้แวะพักที่ธารอโศกและพอใจในทิวทัศน์แห่งนี้มาก เห็นว่าชื่อที่เคยเรียกไว้เดิมยังไม่เหมาะสมจึงตั้งชื่อใหม่ว่า "ธารโบกขรณี"
ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2498 ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ได้เสนอกรมป่าไม้ขอให้จัดตั้งธารโบกขรณีเป็นสวนรุกขชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้รับในหลักการและดำเนินการตั้งแต่นั้นมา โดยอยู่ในความดูแลของกองบำรุง และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากจังหวัดพังงามาทรงประทับ ณ สวนรุกขชาติธารโบกขรณี ทั้งสองพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยที่หินปากถ้ำน้ำลอดด้านขวามือ และได้ทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ในสวนรุกขชาติแห่งนี้ด้วย
จังหวัดกระบี่ ได้มีหนังสือที่ กษ 0009/11446 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2527 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นของ นายประพันธ์ อินทรมณี ผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดกระบี่ และนายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 และหนังสืออำเภออ่าวลึก ที่ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ โดยได้เสนอความเห็นว่า สวนรุกขชาติธารโบกขรณีประกอบด้วยทิวทัศน์สวยงามในบริเวณพื้นที่ป่าและภูเขาใกล้เคียงกับสวนรุกขชาติ ยังมีความสวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าแหล่งต้นน้ำลำธาร เห็นสมควรอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 1516/2527 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตนภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติม ผลการสำรวจรายงานตามหนังสือลงวันที่ 5 ธันวาคม 2527 ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง การคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 336/2528 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2528 ให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่สวนรุกขชาติธารโบกขรณีและพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดกระบี่เป็นอุทยานแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี" ซึ่งอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้ทำการสำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติม โดยมีหนังสือที่ กษ 0713(ธน)/51 ลงวันที่ 10 กันยายน 2529 และที่ กษ 0713(ธน)/15 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว และสมควรที่จะอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติตลอดไป ผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2531 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2531 เห็นชอบในหลักการที่จะให้กำหนดพื้นที่ธารโบกขรณีและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีได้มีหนังสือที่ กษ 0718(ธน)/27 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2531 เสนอให้ผนวกพื้นที่หมู่เกาะเหลาบิเละ (เกาะห้อง) เข้ากับพื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีด้วย
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่าปากลาวและป่าคลองบากัน ป่าคลองกาโหรด และป่าคลองหิน พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง และบริเวณหมู่เกาะเหลาบิเละ ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลแหลมสัก ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก และตำบลเขาทอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ 104 ตารางกิโลเมตร ซึ่งได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 86 ของประเทศ
การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
เต็มจอธารโบกขรณีข้อมูลแผนที่ ©2010 Tele Atlas, AND, MapIT, Europa Technologies - ข้อกำหนดในการให้บริการแผนที่ดาวเทียม
แสดงป้ายกำกับภูมิประเทศ100 ไมล์200 กม.
คลิกที่แผนที่เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่ของ อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
จากกระบี่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ไปอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ถึงสี่แยกอ่าวลึก แล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4039 เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 48 กิโลเมตร
ท่าปอม - คลองสองน้ำ
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ท่าปอม - คลองสองน้ำ - ท่าปอม - คลองสองน้ำ
ท่าปอม - คลองสองน้ำ 1 ใน Unseen Thailand ตั้งอยู่ที่ ต.เขาคราม อ. เมือง อยุ่ในความดูแลของ อบต.เขาคราม เป็นแหล่งศึกษาเชิงนิเวศวิทยา เพื่อเรียนรู้ความสมบูรณ์ของธรรมชาติทั้งในแง่ของทางน้ำใต้ดิน และพืชพรรณที่สามารถเติบโตได้ทั้งในน้ำและบนดิน คลองสองสายน้ำมีลักษณะพิเศษคือ ลำคลองมีทั้งช่วงที่น้ำจืดสนิท และช่วงที่มีน้ำกร่อย เมื่อน้ำทะเลลด น้ำในคลองจืดสนิท ยามน้ำทะเลขึ้นก็เปลี่ยนเป็นคลองน้ำเค็ม ได้ลำธารที่ใสสะอาดราวกระจก อุดมไปด้วยหญ้าทะเลเขียวสดงอกงามจำนวนมาก ทำให้สามารถพายเรือแคนู ในคลองสองน้ำได้ หรือใช้เส้นทางเดินธรรมชาติ ซึ่งผ่านป่าพรุน้ำจืดและรอยต่อป่าสองถิ่น ตลอดแนวลำคลอง ความยาวประมาณ 700 เมตร ตลอดทางเดินนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสความงามของพื่ชวงศ์ปาล์ม เช่น มะพร้าว ตาล อ้อและต้นหมากชนิดต่างๆ รวมถึงระกำ หวาย ชมพู่น้ำ โกงกาง และผักพื้นบ้านนานาชนิด
การเดินทางสู่ ท่าปอม - คลองสองน้ำ
จากกระบี่ใช้เส้นทางถนนป่าพรุ-ท่าปอม สู่บ้านหนองจิก ระยะทางประมาณ 28 กม.
วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553
เกาะไก่
ข้อมูลทั่วไป - เกาะไก่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เป็นเกาะรูปร่างปะหลาด ยอดเขาด้านหลังของเกาะ มีลักษณะเหมือนไก่
ในเวลาน้ำลดหาดทรายด้านหน้าเกาะไก่จะเชื่อมต่อกับหาดทรายของเกาะทับ เกิดเป็นปรากฏการณ์ทะเลแหวก Unseen thailand
ด้านหลังของเกาะไก่นั้นยังเป็นแหล่งดำน้ำตื้นจุดหนึ่งของจ.กระบี่ อีกด้วย
ทะเลแหวก
ทะเลแหวก หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว Unseen Thailand อีกที่หนึ่งของจังหวัดกระบี่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาก อิทธิพลของ น้ำขึ้นและน้ำลง ทำให้สันทรายของเกาะทั้ง 3 คือ เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ปรากฏขึ้น เมื่อน้ำลด นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่น ไป - มา ได้ระหว่างเกาะ โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาถ่ายรูปกันเพื่อเป็น ที่ระลึก และเล่นน้ำทะเล เนื่องจากบริเวณนี้ น้ำทะเลจะใส สามารถมองเห็นฝูงปลาสวยงามตัวเล็กๆ นักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางมาเพื่อชมปรากฏการณ์ ทะเลแหวกนี้ ควรจะเดินทางมาในช่วง เวลาที่น้ำทะเลลงต่ำสุด ในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อน และหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหงอนนาค
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหงอนนาค - เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหงอนนาค
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เขาหงอนนาค เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 3,700 เมตร ซึ่งมีปลายทางเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม คือ “จุดชมทิวทัศน์หงอนนาค” บริเวณนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้กว้างไกล เหมาะสมสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติอย่างแท้จริง
กิจกรรม - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เกาะพีพีดอน
เกาะพีพีดอน
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เกาะพีพีดอน - เกาะพีพีดอน
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเล ประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาดยาว และหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงาม ติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมาก บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
กิจกรรม - ดำน้ำลึก - พายเรือแคนู/คยัค - กิจกรรมชายหาด - ดำน้ำตื้น
การเดินทางสู่ เกาะพีพีดอน
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เกาะพีพีดอน - เกาะพีพีดอน
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเล ประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาดยาว และหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงาม ติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมาก บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
กิจกรรม - ดำน้ำลึก - พายเรือแคนู/คยัค - กิจกรรมชายหาด - ดำน้ำตื้น
การเดินทางสู่ เกาะพีพีดอน
เกาะพีพี
ข้อมูลทั่วไป - เกาะพีพี - เกาะพีพี
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
เกาะพีพี ถือเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดในหมู่เกาะทั้งหมดของ จ.กระบี่
ความงดงามของเกาะพีพีนั้น ได้รับการยอมรับ จากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เกาะพีพเคยได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ถ่ายทำหลักของภาพยนตร์ระดับโลกหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะภาพยนตร์ The Beach นั้นใช้ เกาะพีพีเป็นสถานที่ถ่ายทำหลักเลยทีเดียว
เกาะพีพีนั้นแบ่งเป็น 2 เกาะหลักคือ
เกาะพีพีเล
มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับพื้นผิวทะเลโดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา และอ่าวโละซะมะ
เกาะพีพี
เกาะพีพี
เกาะพีพี
เกาะพีพี
เกาะพีพี
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค
เกาะพีพีดอน
เกาะพีพีดอน มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเล ประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาดยาว และหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงาม ติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมาก บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
เกาะพีพี ถือเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดในหมู่เกาะทั้งหมดของ จ.กระบี่
ความงดงามของเกาะพีพีนั้น ได้รับการยอมรับ จากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เกาะพีพเคยได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ถ่ายทำหลักของภาพยนตร์ระดับโลกหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะภาพยนตร์ The Beach นั้นใช้ เกาะพีพีเป็นสถานที่ถ่ายทำหลักเลยทีเดียว
เกาะพีพีนั้นแบ่งเป็น 2 เกาะหลักคือ
เกาะพีพีเล
มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับพื้นผิวทะเลโดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา และอ่าวโละซะมะ
เกาะพีพี
เกาะพีพี
เกาะพีพี
เกาะพีพี
เกาะพีพี
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค
เกาะพีพีดอน
เกาะพีพีดอน มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเล ประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาดยาว และหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงาม ติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมาก บริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
เกาะยูง
เกาะยูง
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เกาะยูง - เกาะยูง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน มีชายหาดซึ่งเป็นหาดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีหาดทรายเล็กน้อยตามหลืบเขา นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังสวยงามชนิดต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก
เกาะไม้ไผ่
ข้อมูลทั่วไป - เกาะไม้ไผ่ - เกาะไม้ไผ่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอนไม่ไกลจากเกาะยูงเท่าใดนัก ด้านทิศเหนือและ ทิศตะวันออก มีหาดทรายสวยงามและแนวปะการัง ซึ่งส่วนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาวไปถึงทางทิศใต้ของตัวเกาะ
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก
หมู่เกาะปอดะ
หมู่เกาะปอดะ
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - หมู่เกาะปอดะ - หมู่เกาะปอดะ
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวพระนาง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมไม่มากนัก เมื่อมองจากชายฝั่งจะเห็นทรายขาวได้แต่ไกล บริเวณรอบๆ เกาะจะมีแนวปะการังหลากหลายชนิด น้ำทะเลใสสะอาด ทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่น่าสนใจที่สามารถแวะมาเที่ยวชมเกือบตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปรากฎการณ์ในช่วงน้ำลงบริเวณเกาะทับ เกาะหม้อ และเกาะไก่ จะเชื่อมต่อกันโดยแนวทราย ทำให้เกิดทัศนยภาพที่สวยงาม ดูแปลกตา เรียกว่า “ทะเลแหวก” ซึ่งขณะนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
กิจกรรม - ดำน้ำตื้น - กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - หมู่เกาะปอดะ - หมู่เกาะปอดะ
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวพระนาง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมไม่มากนัก เมื่อมองจากชายฝั่งจะเห็นทรายขาวได้แต่ไกล บริเวณรอบๆ เกาะจะมีแนวปะการังหลากหลายชนิด น้ำทะเลใสสะอาด ทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่น่าสนใจที่สามารถแวะมาเที่ยวชมเกือบตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปรากฎการณ์ในช่วงน้ำลงบริเวณเกาะทับ เกาะหม้อ และเกาะไก่ จะเชื่อมต่อกันโดยแนวทราย ทำให้เกิดทัศนยภาพที่สวยงาม ดูแปลกตา เรียกว่า “ทะเลแหวก” ซึ่งขณะนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
กิจกรรม - ดำน้ำตื้น - กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์
อ่าวนาง
ข้อมูลทั่วไป - อ่าวนาง - อ่าวนาง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ในบริเวณอ่าวเต็มไปด้วยเกาะแก่งมีทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตากว่าหาดอื่นๆ เพราะด้านหนึ่งของอ่าวเป็นภูเขา มีถ้ำหินงอก หินย้อย เรียกว่า ถ้ำพระนาง ภายในถ้ำจะเป็นหินงอก หินย้อย สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ และมีหาดทรายที่สวยงาม ได้แก่ หาดไร่เลย์ หาดถ้ำพระนาง หาดน้ำเมา ซึ่งหาดทั้ง 3 แห่งนี้ ไม่สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้เนื่องจากมีภูเขากั้น การเดินทางเข้าถึงต้องเช่าเรือจากอ่าวนาง นอกจากนี้บริเวณหน้าอ่าวนางยังมีเกาะน้อยใหญ่ คือ เกาะไก่ เกาะหม้อ และเกาะปอดะ ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันไป แล้วแต่มุมมองหรือจินตนาการของผู้พบเห็น ที่ผ่านมาบางคนก็เห็นว่าเหมือนหัวไก่ รองเท้าบู๊ท และเรือสำเภา แล้วท่านจะไม่ลองใช้จินตนาการของท่านบ้างหรือ "
ถ้ำไวกิ้ง
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ถ้ำไวกิ้ง - ถ้ำไวกิ้ง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะพีพีเล ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า ถ้ำพญานาค ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่เก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้าง และรูปเรือชนิดต่างๆ
กิจกรรม - ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ลูกเขาช้าง
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ลูกเขาช้าง - ลูกเขาช้าง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เดินเท้าต่อจากคอนางนอนประมาณ 4.5 กิโลเมตร บริเวณพื้นที่เชิงลูกเขาช้าง เหมาะเป็นสถานที่กางเต็นท์ พักผ่อนชมธรรมชาติ และถ่ายภาพธรรมชาติ เนื่องจากมีสภาพเป็นที่ราบอยู่ติดกับป่าที่ราบต่ำและลำน้ำห้วยโต้
กิจกรรม - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
จุดชมทิวทัศน์
จุดชมทิวทัศน์
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - จุดชมทิวทัศน์ - จุดชมทิวทัศน์
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 750 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเขาผึ้งและอำเภอเมืองกระบี่ได้ เหมาะแก่การชมทัศนียภาพ ถ่ายภาพ เดินศึกษาธรรมชาติ และดูนก
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - จุดชมทิวทัศน์ - จุดชมทิวทัศน์
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 750 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเขาผึ้งและอำเภอเมืองกระบี่ได้ เหมาะแก่การชมทัศนียภาพ ถ่ายภาพ เดินศึกษาธรรมชาติ และดูนก
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
บ่อน้ำผุด
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - บ่อน้ำผุด - บ่อน้ำผุด
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เป็นแอ่งน้ำตามธรรมชาติขนาดเล็ก มีฟองอากาศที่ผุดขึ้นมาเหนือน้ำตลอดเวลา สันนิษฐานว่า เกิดจากน้ำที่ซึมออกมาจากใต้ดิน ทำให้ที่แห่งนี้มีน้ำตลอดปี และไหลเป็นลำธารสู่ที่ต่างๆ
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
คอนางนอน
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - คอนางนอน - คอนางนอน
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เดินเท้าต่อจากน้ำตกบางสร้านอีกประมาณ 4 กิโลเมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอเขาพนม มีบรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อน เนื่องจากมีลำน้ำขนาดเล็ก สามารถสัมผัสเมฆและสายหมอกได้ เหมาะแก่การเดินป่าระยะไกล ตั้งค่ายพักแรม ชมทัศนียภาพ เดินศึกษาธรรมชาติ และถ่ายภาพธรรมชาติ
กิจกรรม - เดินป่าระยะไกล - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์
การเดินทางสู่ คอนางนอน
น้ำตกบางสร้าน
น้ำตกบางสร้าน
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกบางสร้าน - น้ำตกบางสร้าน
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เดินทางจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4037 ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พจ. 3 (บางสร้าน) แล้วเดินเท้าต่ออีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีหลายชั้นสวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เหมาะแก่การเล่นน้ำ ศึกษาธรรมชาติ พักผ่อน และถ่ายภาพธรรมชาติ
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
น้ำตกห้วยเนียง
น้ำตกห้วยเนียง
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกห้วยเนียง - น้ำตกห้วยเนียง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา จากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4037 ประมาณ 18 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พจ.1 (ห้วยเนียง) และเดินเท้าต่ออีกประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีขนาดเล็กแต่มีหลายชั้น เหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติ ดูนก และถ่ายภาพธรรมชาติ
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกห้วยเนียง - น้ำตกห้วยเนียง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา จากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4037 ประมาณ 18 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พจ.1 (ห้วยเนียง) และเดินเท้าต่ออีกประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีขนาดเล็กแต่มีหลายชั้น เหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติ ดูนก และถ่ายภาพธรรมชาติ
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เขาพนมเบญจา
เขาพนมเบญจา
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เขาพนมเบญจา - เขาพนมเบญจา
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เดินเท้าต่อจากคอนางนอน ประมาณ 500 เมตร เป็นยอดเขาสูงถึง 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนยอดเขามีจุดชมทิวทัศน์มิตรไมตรี จากจุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองกระบี่ได้กว้างไกล เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาจะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์หนาแน่นด้วยต้นไม้ใหญ่ เช่น ตะเคียนทอง ยาง หลุมพอ ฯลฯ ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำทางได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าระยะไกล
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เขาพนมเบญจา - เขาพนมเบญจา
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา เดินเท้าต่อจากคอนางนอน ประมาณ 500 เมตร เป็นยอดเขาสูงถึง 1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนยอดเขามีจุดชมทิวทัศน์มิตรไมตรี จากจุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองกระบี่ได้กว้างไกล เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาจะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์หนาแน่นด้วยต้นไม้ใหญ่ เช่น ตะเคียนทอง ยาง หลุมพอ ฯลฯ ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำทางได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าระยะไกล
ถ้ำเขาผึ้ง
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ถ้ำเขาผึ้ง - ถ้ำเขาผึ้ง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในมีถ้ำย่อยๆ ซ่อนตัวอยู่ 5 ถ้ำ ถ้ำแรกคือ ถ้ำสุสานนก จะพบเห็นซากนกมากมายกระจัดกระจายตามพื้นถ้ำ เดินต่อไปผ่านลำน้ำภายในถ้ำที่สูงประมาณ 1 เมตร ลัดเลาะไปตามช่องต่างๆ จะมาพบ ถ้ำน้ำ ซึ่งมีระดับความสูงของน้ำประมาณเอว สามารถเดินเลี่ยงตามทางด้านบนได้ ซึ่งจะมาทะลุ ถ้ำนาง ที่มีความสวยงามของหินงอกหินย้อย เมื่อใกล้ถึงทางออกของถ้ำจะพบหินย้อยที่มีรูปร่างคล้ายดอกบัวขนาดใหญ่อยุ่บนผนังถ้ำ ถ้ำแห่งนี้จึงมีชื่อว่า ถ้ำบัว
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
น้ำตกห้วยสะเค
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกห้วยสะเค - น้ำตกห้วยสะเค
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.2 กิโลเมตร เป็นสายน้ำที่ตกจากหน้าผาสูง มีทั้งหมด 3 ชั้น และอยู่ใกล้กับน้ำตกห้วยโต้
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกห้วยสะเค - น้ำตกห้วยสะเค
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.2 กิโลเมตร เป็นสายน้ำที่ตกจากหน้าผาสูง มีทั้งหมด 3 ชั้น และอยู่ใกล้กับน้ำตกห้วยโต้
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก
น้ำตกห้วยโต้
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกห้วยโต้ - น้ำตกห้วยโต้
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา กำเนิดจากเขาพนมเบญจา ตกจากหน้าผาสูง มี 11 ชั้น บางชั้นสูงประมาณ 70-80 เมตร มีแอ่งน้ำกว้างใสสะอาดเหมาะสำหรับเล่นน้ำ แอ่งน้ำแต่ละชั้นมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น วังเทวดา วังชก และวังสามหาบ น้ำตกห้วยโต้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 500 เมตร
กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
การเดินทางสู่ น้ำตกห้วยโต้
สุสานหอย
สุสานหอย
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - สุสานหอย - สุสานหอย
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีซากดึกดำบรรพ์ของหอยน้ำจืดชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นหอยขม มีขนาดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซากหอยเหล่านี้ได้ทับถมกันโดยมีน้ำประสานธาตุปูนจับตัวให้กลายเป็นหินแข็งทับอยู่ชั้นหินลิกไนท์ และหินดินดาน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ และเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ช่วงแรกประมาณกันว่าสุสานหอยแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 75 ล้านปีมาแล้ว ต่อมาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการค้นพบหลักฐานด้านธรณีวิทยามีมากขึ้น จึงกำหนดอายุของสุสานหอยใหม่เหลือประมาณ 40-20 ล้านปี
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - สุสานหอย - สุสานหอย
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีซากดึกดำบรรพ์ของหอยน้ำจืดชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นหอยขม มีขนาดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซากหอยเหล่านี้ได้ทับถมกันโดยมีน้ำประสานธาตุปูนจับตัวให้กลายเป็นหินแข็งทับอยู่ชั้นหินลิกไนท์ และหินดินดาน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ และเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ช่วงแรกประมาณกันว่าสุสานหอยแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 75 ล้านปีมาแล้ว ต่อมาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการค้นพบหลักฐานด้านธรณีวิทยามีมากขึ้น จึงกำหนดอายุของสุสานหอยใหม่เหลือประมาณ 40-20 ล้านปี
กิจกรรม - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เขาพนมเบญจา - อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา มีเนื้อที่ครอบคลุมท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเขาพนม และอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เขาพนมเบญจาเป็นสัญลักษณ์แห่งความงามที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่ สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีไอหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ลำธาร น้ำตก ถ้ำต่าง ๆ และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 31,325 ไร่ หรือ 50.12 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา: จังหวัดกระบี่ ได้มีหนังสือที่ กษ 0009/11228 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2522 แจ้งว่า ตามที่ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชได้ทำการสำรวจป่าเขาพนมเบญจา เพื่อประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดกระบี่เห็นว่า เพื่อรักษาสภาพป่า ทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติไว้ ควรจะได้จัดพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เสนอกรมป่าไม้ตามหนังสือที่ กษ 0708/3577 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2522 พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการสำรวจต่อไปได้ ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
เขาพนมเบญจา
เขาพนมเบญจา
เขาพนมเบญจา
เขาพนมเบญจา
กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 2830/2522 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2522 ให้ นายสรรเพชญ ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 ไปดำเนินการสำรวจและจัดตั้งป่าเขาพนมเบญจาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า ป่าดังกล่าวมีสภาพสมบูรณ์มีเขาสูงชัน มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกหลายแห่ง หน้าผา ถ้ำต่างๆ ตามรายงานการสำรวจเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2523 กรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพนมเบญจาในท้องที่ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก ตำบลเขาดิน ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม และตำบลเขาคราม ตำบลทับปริก ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาที่เขียวชอุ่มสลับซับซ้อน มีหน้าผาสูงชัน ประกอบด้วยเขาพนมและเขาพนมเบญจา ซึ่งมียอดเขาสูงสุด 1,397 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้มีลักษณะเป็นแนวยาวตลอดจากเหนือจรดใต้ เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำสายสำคัญที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในตัวเมืองกระบี่ ได้แก่ คลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เทือกเขาเหล่านี้มีลักษณะเป็นแนวยาวตลอดจากเหนือจรดใต้ ผ่านกลางอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น คลองโตน คลองกระบี่น้อย คลองพอทาก ห้วยสะเค ห้วยส้าน และห้วยไผ่
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจาอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน และฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากป่าเขาพนมเบญจา เป็นป่าดิบชื้น ฝนตกชุกเกือบตลอดปี จึงมีไม้ที่สำคัญหลายชนิด คือ ตะเคียนทอง ยาง ตะแบก หลุมพอ จำปา สะตอป่า มะไฟป่า พืชพื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย เข็มป่า และไผ่ชนิดต่างๆ สำหรับสัตว์ป่านั้นยังชุกชุมอยู่มาก เพราะมีแหล่งน้ำและอาหารอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ สมเสร็จ เลียงผา หมูป่า เสือดำ เสือลายเมฆ หมีควาย กระจง ค่าง ชะนี ลิงเสน หมาไน กระรอก ชะมด นางอาย นกกางเขนดง นกเงือก นกคุ้ม ไก่ฟ้า และไก่ป่า
การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
เต็มจอเขาพนมเบญจาข้อมูลแผนที่ ©2010 Tele Atlas, AND, MapIT, Europa Technologies - ข้อกำหนดในการให้บริการแผนที่ดาวเทียม
แสดงป้ายกำกับภูมิประเทศ200 ไมล์500 กม.
คลิกที่แผนที่เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่ของ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
จากสามแยกบ้านตลาดเก่า จังหวัดกระบี่ ไปตามถนนศรีตรัง ระยะทาง 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางตลาดเก่า- บ้านห้วยโต้ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่ - ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่
ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่ หมู่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลเขาคราม ใช้เส้นทางกระบี่-อ่าวลึก อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ 20 กิโลเมตร เป็นศูนย์เพื่อรวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่น ทดสอบพันธุ์พืชในประเทศและต่างประเทศ เพื่อผลิตและกระจายพืชพันธุ์ดีแก่เกษตรกร
ภายในศูนย์จะมีไม้หลายพันธุ์ให้เที่ยวชม อาทิ หมากแดง ดาหลา จั๋ง เฮลิโทเนีย มะพร้าวน้ำหอม กล้วยไม้หลากสีสัน และดอกหน้าวัวกว่า 60 พันธุ์ ที่มีสีสันแปลกตาสวยงาม เช่น พันธุ์มิโดริ ดอกจะสีเขียว พันธุ์มินาคีไวท์ ดอกสีขาว พันธุ์ทวิงโก้ ดอกสีชมพูอ่อน และพันธุ์โรยัล ฟรัช ดอกจะมีสีม่วง เป็นต้น นักท่องเที่ยวที่สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0 7561 2913
การเดินทางสู่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่
วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553
ถ้ำเสือเขาแก้ว
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ถ้ำเสือเขาแก้ว - ถ้ำเสือเขาแก้ว
ถ้ำเสือเขาแก้ว อ่าวลูกธนู ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำเสือในตำบลกระบี่น้อย ห่างจากตัวเมืองกระบี่ไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) แล้วแยกซ้ายเข้าถนนราษฎรพัฒนา (ทางหลวงหมายเลข 4037) ไปประมาณ 9 กิโลเมตร เหตุที่ได้ชื่อว่า "ถ้ำเสือ" เพราะว่าบริเวณถ้ำด้านหน้าของทิวเขาอ่าวลูกธนูหรือที่เรียกว่า "เขาแก้ว" เคยมีเสือโคร่งขนาดใหญ่อาศัยอยู่และภายในถ้ำยังปรากฎหินธรรมชาติเป็นรูปอุ้งเท้าเสือ สภาพโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นสวนป่า แวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่อายุนับร้อยปีในหุบเขาคีรีวงศ์ และเนื่องจากมีเขาล้อมอยู่ทุกด้าน จึงมีถ้ำเล็ก ถ้ำน้อยอยู่มากมาย เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำพระ เป็นต้น บริเวณนี้นอกจากเป็นที่ตั้งของวัด ยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญถึงสองสมัยคือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ มีการขุดพบเครื่องมือหิน เศษภาชนะดินเผา พระพิมพ์ดิบ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีเส้นทางเดินป่า และเส้นทางขึ้นจุดชมวิวบนยอดเขา ไปตามบันไดสูง 1,272 ขั้นด้วย
ข้อมูลทั่วไป - ถ้ำเสือเขาแก้ว - ถ้ำเสือเขาแก้ว
ถ้ำเสือเขาแก้ว อ่าวลูกธนู ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำเสือในตำบลกระบี่น้อย ห่างจากตัวเมืองกระบี่ไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) แล้วแยกซ้ายเข้าถนนราษฎรพัฒนา (ทางหลวงหมายเลข 4037) ไปประมาณ 9 กิโลเมตร เหตุที่ได้ชื่อว่า "ถ้ำเสือ" เพราะว่าบริเวณถ้ำด้านหน้าของทิวเขาอ่าวลูกธนูหรือที่เรียกว่า "เขาแก้ว" เคยมีเสือโคร่งขนาดใหญ่อาศัยอยู่และภายในถ้ำยังปรากฎหินธรรมชาติเป็นรูปอุ้งเท้าเสือ สภาพโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นสวนป่า แวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่อายุนับร้อยปีในหุบเขาคีรีวงศ์ และเนื่องจากมีเขาล้อมอยู่ทุกด้าน จึงมีถ้ำเล็ก ถ้ำน้อยอยู่มากมาย เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำพระ เป็นต้น บริเวณนี้นอกจากเป็นที่ตั้งของวัด ยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญถึงสองสมัยคือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ มีการขุดพบเครื่องมือหิน เศษภาชนะดินเผา พระพิมพ์ดิบ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีเส้นทางเดินป่า และเส้นทางขึ้นจุดชมวิวบนยอดเขา ไปตามบันไดสูง 1,272 ขั้นด้วย
ถ้ำเสด็จ
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - ถ้ำเสด็จ - ถ้ำเสด็จ
ถ้ำเสด็จ อยู่ที่หมู่บ้านหนองกก ตำบลไสไทย ห่างจากตัวเมืองกระบี่ 7 กิโลเมตร ถ้ำเสด็จนี้ ชาวบ้านตั้งชื่อให้เป็นมงคลนาม เพราะเมื่อปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรถ้ำแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อถ้ำนี้ว่า "ถ้ำเสด็จ" ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
อ. เมือง จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี - อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
เกาะสวรรค์ แหล่งโบราณหอยล้านปี
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่สวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงามและเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้นๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 242,437.17 ไร่ หรือ 387.90 ตารางกิโลเมตร (ภาพด้านซ้าย : ภาพใหญ่ เป็นภาพในอดีต)
ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2520 ให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่รัฐบาลพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยว มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งสมควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวรต่อไป กองอุทยานแห่งชาติ จึงเสนอกรมป่าไม้ให้มีคำสั่งที่ 1261/2523 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2523 ให้ นายสันติ สีกุหลาบ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติทางทะเลในท้องที่จังหวัดภูเก็ตและติดต่อจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจากการรายงานการสำรวจปรากฏว่า พื้นที่บริเวณเกาะพีพีและหมู่เกาะใกล้เคียงระหว่างจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ มีความเหมาะสมที่จะจัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2524 และป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชได้มีหนังสือที่ กส.0709(นศ)/269 ลงวันที่ 19 มกราคม 2525 แจ้งว่า ป่าบริเวณหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะใกล้เคียงรวมถึงหมู่เกาะพีพีในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีทิวทัศน์และธรรมชาติสวยงาม เห็นสมควรจัดเป็นอุทยานแห่งชาติอีกแห่งหนึ่ง
หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 524/2525 ลงวันที่ 14 เมษายน 2525 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตน์ภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจและจัดตั้งบริเวณหมู่เกาะพีพีและป่าบริเวณหาดนพรัตน์ธารา ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นอุทยานแห่งชาติ และกองอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรทำการสำรวจบริเวณสุสานหอย 75 ล้านปี ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อีกแห่งหนึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวกัน ผลการสำรวจตามหนังสือรายงานลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 สรุปได้ว่า พื้นที่ตามแหล่งต่างๆ มีความสวยงามเป็นพิเศษ มีลักษณะเด่นหลายแห่ง มีทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและมีมติเห็นชอบเมื่อ 15 มิถุนายน 2525 ในการประชุมครั้งที่ 1/2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินสุสานหอย 75 ล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง ตำบลไสไทย และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ประมาณ 243,725 ไร่ หรือ 389.96 กิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 160 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2526 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 47 ของประเทศไทย
ต่อมาได้ดำเนินการผนวกพื้นที่บริเวณสุสานหอยและเกาะใกล้เคียงเพิ่มจำนวน 12.17 ไร่ หรือ 0.02 ตารางกิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เล่ม 113 ตอนที่ 65 ก ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 และต่อมาได้เพิกถอนพื้นที่บางส่วนในบริเวณเขาหางนาค ในท้องที่ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พื้นที่ 1,300 ไร่ หรือ 2.08 ตารางกิโลเมตร เพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือ ตามพระราชกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 72ก ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2541 คงเหลือพื้นที่ทั้งหมด 387.90 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยพื้นที่ภาคพื้นดินบนชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเขาอ่าวน้ำเมา และป่าอ่าวนาง-หางนาค และหมู่เกาะต่างๆ ธรณีสัณฐานของพื้นที่เป็นเทือกเขามีความสูงชันเรียงตัวยาวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณชายฝั่งเป็นเขาสูงชัน ทางด้านตะวันตกมีความลาดชันมากกว่าตะวันออก ธรณีสัณฐานของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากแนวการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เรียกว่า Indosenia Teotonic Movement และในบริเวณป่าชายเลนเขาหางนาค ริมฝั่งทะเลมีลำคลองเขากลม ได้รับน้ำจืดที่ระบายมาจากบึงขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "หนองทะเล" ทำให้เกิดสภาพป่าชายเลน และที่ราบต่ำป่าเสม็ดบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่เรียกว่า "คลองแห้ง" (หาดนพรัตน์ธารา)
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเขตร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ลักษณะภูมิอากาศจึงแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน จากต้นเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม และฤดูร้อนจากต้นเดือนมกราคม-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 17-37 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเฉลี่ยประมาณ 2,231 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สำหรับพรรณไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ ปรากฏพบบริเวณที่เป็นเขาสูงชัน บริเวณเขาหางนาค บริเวณเขาอ่าวนาง บริเวณทิศตะวันตกของเกาะพีพีดอน และบริเวณเกาะพีพีเลส่วนใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 33 ตารางกิโลเมตร เป็นไม้แคระแกร็นเนื่องจากพื้นที่เป็นเขาหินปูนซึ่งมีชั้นดินบางและรับลมแรง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ยาง พะยอม และพืชชั้นล่างพวกจันทน์ผา หวาย ไทร และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ
ป่าชายเลน มีอยู่ในบริเวณคลองแห้ง ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาหางนาค และบริเวณคลองย่านสะบ้า ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณสุลานหอย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว
ป่าพรุ เป็นสังคมพืชเด่นที่พบต้นเสม็ดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นสมบูรณ์ ปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหาดนพรัตน์ธาราเป็นบริเวณแคบๆ ประมาณ 0.32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เป็นหาดทรายผสมดินร่วนได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหรือเป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน พันธุ์พืชที่พบนอกจากเสม็ดขาวที่ขึ้นอยู่หนาแน่นแล้วได้แก่ พะยอม หว้าหิน นน เนียน และหญ้าคา
นอกจากนี้ในบริเวณอ่าวนางยังสำรวจพบหญ้าทะเล 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าผมนาง หญ้าใบมะกรูด และหญ้าเต่า
จากสภาพภูมิอากาศและสังคมพืชที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติทำให้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่สัตว์บางประเภท สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ หมูป่า กระจง ลิง ค่าง โลมาหัวขวด โลมาหัวขวดมลายู โลมาหัวบาตร โลมาจุด และโลมาขาว
นก ประกอบด้วย นกโจรสลัด เหยี่ยวแดง นกออก นกนางแอ่นกินรัง นกนางนวล
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าตนุ เต่ากระ เต่าสังกะสี ตะพาบหัวกบ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน กิ้งก่า งูชนิดต่างๆ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ คางคก อึ่งอ่าง กบ เขียด และปาด
นอกจากนี้ทรัพยากรในท้องทะเลยังประกอบด้วย ปลากระเบน ปลากระโทงแทง ปลาเก๋า ปลากะรังลายขนนก ปลากะพง ปลามง ปลาไหลทะเล ปลาสินสมุทร ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง หอยมือหมี หอยนางรม กุ้ง ปลิงทะเล ดาวทะเล หอยเม่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง เช่น ปะการังหนาม ปะการังนิ้วมือ ปะการังดอกไม้ ปะการังเขากวาง ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังผิวถ้วยเคลือบ ปะการังดอกไม้แปลง ปะการังเห็ด ปะการังผักกาด ปะการังอ่อน เป็นต้น
การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
เต็มจอหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีข้อมูลแผนที่ ©2010 Tele Atlas, AND - ข้อกำหนดในการให้บริการแผนที่ดาวเทียม
แสดงป้ายกำกับภูมิประเทศ20 ไมล์50 กม.
คลิกที่แผนที่เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่ของ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ รวมระยะทางประมาณ 946 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา เข้าอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4035 ผ่านอำเภออ่าวลึก ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร
จากจังหวัดกระบี่ ไปตามถนนสายในเมือง-ในสระ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตรจากตัวเมืองกระบี่ถึงหาดนพรัตน์ธาราฯ จากนั้นใช้เส้นทางเลียบชายทะเลที่เชื่อมระหว่างหาดนพรัตน์ธาราฯ และหาดบ้านอ่าวนางไปทางทิศใต้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร สำหรับไปชมอ่าวพระนางต้องนั่งเรือประมาณ 20 นาที และจากหาดนพรัตน์ธาราฯ มีทางแยกไปสุสานหอย 75 ล้านปี ระยะทาง 11 กิโลเมตร
ข้อมูลทั่วไป - หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี - อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
เกาะสวรรค์ แหล่งโบราณหอยล้านปี
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่สวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงามและเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้นๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 242,437.17 ไร่ หรือ 387.90 ตารางกิโลเมตร (ภาพด้านซ้าย : ภาพใหญ่ เป็นภาพในอดีต)
ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2520 ให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่รัฐบาลพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยว มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งสมควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวรต่อไป กองอุทยานแห่งชาติ จึงเสนอกรมป่าไม้ให้มีคำสั่งที่ 1261/2523 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2523 ให้ นายสันติ สีกุหลาบ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติทางทะเลในท้องที่จังหวัดภูเก็ตและติดต่อจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจากการรายงานการสำรวจปรากฏว่า พื้นที่บริเวณเกาะพีพีและหมู่เกาะใกล้เคียงระหว่างจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ มีความเหมาะสมที่จะจัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2524 และป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชได้มีหนังสือที่ กส.0709(นศ)/269 ลงวันที่ 19 มกราคม 2525 แจ้งว่า ป่าบริเวณหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะใกล้เคียงรวมถึงหมู่เกาะพีพีในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีทิวทัศน์และธรรมชาติสวยงาม เห็นสมควรจัดเป็นอุทยานแห่งชาติอีกแห่งหนึ่ง
หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 524/2525 ลงวันที่ 14 เมษายน 2525 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตน์ภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจและจัดตั้งบริเวณหมู่เกาะพีพีและป่าบริเวณหาดนพรัตน์ธารา ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นอุทยานแห่งชาติ และกองอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรทำการสำรวจบริเวณสุสานหอย 75 ล้านปี ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อีกแห่งหนึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวกัน ผลการสำรวจตามหนังสือรายงานลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 สรุปได้ว่า พื้นที่ตามแหล่งต่างๆ มีความสวยงามเป็นพิเศษ มีลักษณะเด่นหลายแห่ง มีทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและมีมติเห็นชอบเมื่อ 15 มิถุนายน 2525 ในการประชุมครั้งที่ 1/2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินสุสานหอย 75 ล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง ตำบลไสไทย และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ประมาณ 243,725 ไร่ หรือ 389.96 กิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 160 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2526 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 47 ของประเทศไทย
ต่อมาได้ดำเนินการผนวกพื้นที่บริเวณสุสานหอยและเกาะใกล้เคียงเพิ่มจำนวน 12.17 ไร่ หรือ 0.02 ตารางกิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เล่ม 113 ตอนที่ 65 ก ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 และต่อมาได้เพิกถอนพื้นที่บางส่วนในบริเวณเขาหางนาค ในท้องที่ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พื้นที่ 1,300 ไร่ หรือ 2.08 ตารางกิโลเมตร เพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือ ตามพระราชกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 72ก ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2541 คงเหลือพื้นที่ทั้งหมด 387.90 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยพื้นที่ภาคพื้นดินบนชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเขาอ่าวน้ำเมา และป่าอ่าวนาง-หางนาค และหมู่เกาะต่างๆ ธรณีสัณฐานของพื้นที่เป็นเทือกเขามีความสูงชันเรียงตัวยาวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณชายฝั่งเป็นเขาสูงชัน ทางด้านตะวันตกมีความลาดชันมากกว่าตะวันออก ธรณีสัณฐานของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากแนวการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เรียกว่า Indosenia Teotonic Movement และในบริเวณป่าชายเลนเขาหางนาค ริมฝั่งทะเลมีลำคลองเขากลม ได้รับน้ำจืดที่ระบายมาจากบึงขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "หนองทะเล" ทำให้เกิดสภาพป่าชายเลน และที่ราบต่ำป่าเสม็ดบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่เรียกว่า "คลองแห้ง" (หาดนพรัตน์ธารา)
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเขตร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ลักษณะภูมิอากาศจึงแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน จากต้นเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม และฤดูร้อนจากต้นเดือนมกราคม-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 17-37 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเฉลี่ยประมาณ 2,231 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สำหรับพรรณไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ ปรากฏพบบริเวณที่เป็นเขาสูงชัน บริเวณเขาหางนาค บริเวณเขาอ่าวนาง บริเวณทิศตะวันตกของเกาะพีพีดอน และบริเวณเกาะพีพีเลส่วนใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 33 ตารางกิโลเมตร เป็นไม้แคระแกร็นเนื่องจากพื้นที่เป็นเขาหินปูนซึ่งมีชั้นดินบางและรับลมแรง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ยาง พะยอม และพืชชั้นล่างพวกจันทน์ผา หวาย ไทร และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ
ป่าชายเลน มีอยู่ในบริเวณคลองแห้ง ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาหางนาค และบริเวณคลองย่านสะบ้า ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณสุลานหอย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว
ป่าพรุ เป็นสังคมพืชเด่นที่พบต้นเสม็ดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นสมบูรณ์ ปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหาดนพรัตน์ธาราเป็นบริเวณแคบๆ ประมาณ 0.32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เป็นหาดทรายผสมดินร่วนได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหรือเป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน พันธุ์พืชที่พบนอกจากเสม็ดขาวที่ขึ้นอยู่หนาแน่นแล้วได้แก่ พะยอม หว้าหิน นน เนียน และหญ้าคา
นอกจากนี้ในบริเวณอ่าวนางยังสำรวจพบหญ้าทะเล 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าผมนาง หญ้าใบมะกรูด และหญ้าเต่า
จากสภาพภูมิอากาศและสังคมพืชที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติทำให้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่สัตว์บางประเภท สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ หมูป่า กระจง ลิง ค่าง โลมาหัวขวด โลมาหัวขวดมลายู โลมาหัวบาตร โลมาจุด และโลมาขาว
นก ประกอบด้วย นกโจรสลัด เหยี่ยวแดง นกออก นกนางแอ่นกินรัง นกนางนวล
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าตนุ เต่ากระ เต่าสังกะสี ตะพาบหัวกบ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน กิ้งก่า งูชนิดต่างๆ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ คางคก อึ่งอ่าง กบ เขียด และปาด
นอกจากนี้ทรัพยากรในท้องทะเลยังประกอบด้วย ปลากระเบน ปลากระโทงแทง ปลาเก๋า ปลากะรังลายขนนก ปลากะพง ปลามง ปลาไหลทะเล ปลาสินสมุทร ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง หอยมือหมี หอยนางรม กุ้ง ปลิงทะเล ดาวทะเล หอยเม่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง เช่น ปะการังหนาม ปะการังนิ้วมือ ปะการังดอกไม้ ปะการังเขากวาง ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังผิวถ้วยเคลือบ ปะการังดอกไม้แปลง ปะการังเห็ด ปะการังผักกาด ปะการังอ่อน เป็นต้น
การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
เต็มจอหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีข้อมูลแผนที่ ©2010 Tele Atlas, AND - ข้อกำหนดในการให้บริการแผนที่ดาวเทียม
แสดงป้ายกำกับภูมิประเทศ20 ไมล์50 กม.
คลิกที่แผนที่เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่ของ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ รวมระยะทางประมาณ 946 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา เข้าอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4035 ผ่านอำเภออ่าวลึก ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร
จากจังหวัดกระบี่ ไปตามถนนสายในเมือง-ในสระ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตรจากตัวเมืองกระบี่ถึงหาดนพรัตน์ธาราฯ จากนั้นใช้เส้นทางเลียบชายทะเลที่เชื่อมระหว่างหาดนพรัตน์ธาราฯ และหาดบ้านอ่าวนางไปทางทิศใต้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร สำหรับไปชมอ่าวพระนางต้องนั่งเรือประมาณ 20 นาที และจากหาดนพรัตน์ธาราฯ มีทางแยกไปสุสานหอย 75 ล้านปี ระยะทาง 11 กิโลเมตร
เขาขนาบน้ำ
ข้อมูลทั่วไป - เขาขนาบน้ำ - เขาขนาบน้ำ
เขาขนาบน้ำ เป็นเขาสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ำกระบี่ด้านหน้าตัวเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่ สามารถไปเที่ยวชมได้โดยเช่าเรือหางยาวที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที
นอกจากนั่งเรือชมเขาและป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์แล้วยังสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวถ้ำได้ ภายในมีหินงอกหินย้อยและเป็นสถานที่ที่เคยพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากอีกด้วยแต่ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว สันนิษฐานว่าอาจเป็นโครงกระดูกของกลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งแต่ล้มตายลงเนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลัน
และสำหรับนักนิยมพายเรือแคนู บริเวณนี้เหมาะที่จะพายเรือแคนูเพราะมีธรรมชาติที่เขียวชอุ่มด้วยป่าชายเลนและน้ำนิ่ง สนใจสามารถติดต่อบริษัทเรือแคนู ในจังหวัดกระบี่ได้
เขาขนาบน้ำ
นอกจากนั้นไม่ห่างจากเขาขนาบน้ำจะมีชุมชนชาวเกาะกลาง ที่บนเกาะจะมีหอพิพิธภัณฑ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านแสดงเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ของที่ระลึกฝีมือชาวบ้าน อาทิ เรือโทงเทง และจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน การทอผ้าฝ้าย การเลี้ยงปลาในกระชัง
นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือเทศบาล บริเวณเขาขนาบน้ำ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ค่าเช่าเรือลำละ 300 บาท
เขาขนาบน้ำ เป็นเขาสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ำกระบี่ด้านหน้าตัวเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่ สามารถไปเที่ยวชมได้โดยเช่าเรือหางยาวที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที
นอกจากนั่งเรือชมเขาและป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์แล้วยังสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวถ้ำได้ ภายในมีหินงอกหินย้อยและเป็นสถานที่ที่เคยพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากอีกด้วยแต่ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว สันนิษฐานว่าอาจเป็นโครงกระดูกของกลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งแต่ล้มตายลงเนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลัน
และสำหรับนักนิยมพายเรือแคนู บริเวณนี้เหมาะที่จะพายเรือแคนูเพราะมีธรรมชาติที่เขียวชอุ่มด้วยป่าชายเลนและน้ำนิ่ง สนใจสามารถติดต่อบริษัทเรือแคนู ในจังหวัดกระบี่ได้
เขาขนาบน้ำ
นอกจากนั้นไม่ห่างจากเขาขนาบน้ำจะมีชุมชนชาวเกาะกลาง ที่บนเกาะจะมีหอพิพิธภัณฑ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านแสดงเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ของที่ระลึกฝีมือชาวบ้าน อาทิ เรือโทงเทง และจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน การทอผ้าฝ้าย การเลี้ยงปลาในกระชัง
นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือเทศบาล บริเวณเขาขนาบน้ำ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ค่าเช่าเรือลำละ 300 บาท
สระมรกต
ข้อมูลทั่วไป - สระมรกต - สระมรกต
สระมรกต Unseen in Thailand
สระมรกต สระน้ำสวยใสกลางใจป่า กำเนิดมาจากธารน้ำอุ่นในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ แหล่งสุดท้ายที่พบ นกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งเคยสูญพันธ์ไปนานเกือบ 100 ปี ใครจะรู้บ้างไหมว่า ใจกลางป่าผืนนี้มีทั้งสระน้ำสวยใส และนกหายากอยู่รวมกัน
ป่าเขานอจู้จี้
ป่าดินที่ราบต่ำผืนสุดท้ายของเมืองไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีสภาพเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ แบ่งเป็นป่าดงดิบชื้น และบางส่วนที่เป็นป่าพรุที่มี น้ำท่วมขังทั้งปี สามารถท่องเที่ยวได้สะดวกด้วยการเดินตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ดูพรรณไม้ที่น่าสนใจ เช่น ต้นเตียว ต้นชิง ฯลฯ นอกจากนั้น ที่นี่ยังเป็นแหล่งดูนก ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีนกกว่า 300 ชนิด มีนกที่หายากและสูญพันธุ์ จากโลกนี้ไปแล้วเกือบ 100 ปี ซึ่งกลับมาค้นพบที่นี่คือ นกแต้วแร้วท้องดำ และเป็นแหล่งที่มีสระน้ำสวยใสหลายแห่ง อันเกิดมาจากธารน้ำอุ่น ที่สำคัญคือ สระมรกต ที่มีน้ำใสเป็นสีเขียวอมฟ้า เปลี่ยนสีไปได้ตามวันเวลา และสภาพแสง
สระมรกต
สระมรกต
สระมรกต
สระมรกต
สระมรกต
วันเวลาที่แนะนำ
สระมรกต สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปีแต่สภาพที่ดีซึ่งจะเห็นสระเป็นสีเขียวมรกตสดใส มักจะเป็นช่วงเวลาเช้า และเย็น โดยเฉพาะในวันฤดูร้อนที่ท้องฟ้าสดใสปราศจากเมฆฝน
การเดินทางสู่ สระมรกต
เต็มจอสระมรกตข้อมูลแผนที่ ©2010 Tele Atlas, AND, MapIT, Europa Technologies - ข้อกำหนดในการให้บริการแผนที่ดาวเทียม
แสดงป้ายกำกับภูมิประเทศ100 ไมล์200 กม.
คลิกที่แผนที่เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่ของ สระมรกต
จากจังหวัดกระบี่ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 สู่อำเภอคลองท่อม แยกซ้ายมือทางหลวง หมายเลข 4038 มุ่งหน้าอำเภอลำทับ ระหว่างทางมีทางแยกขวามือเป็นทางย่อยแยก เข้าสู่น้ำตกร้อน และสระมรกตที่มีป้ายบอกทางชัดเจน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4
โทร. 0-7621-1036, 0-7621-2213, 0-7621-7138
สระมรกต Unseen in Thailand
สระมรกต สระน้ำสวยใสกลางใจป่า กำเนิดมาจากธารน้ำอุ่นในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ แหล่งสุดท้ายที่พบ นกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งเคยสูญพันธ์ไปนานเกือบ 100 ปี ใครจะรู้บ้างไหมว่า ใจกลางป่าผืนนี้มีทั้งสระน้ำสวยใส และนกหายากอยู่รวมกัน
ป่าเขานอจู้จี้
ป่าดินที่ราบต่ำผืนสุดท้ายของเมืองไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีสภาพเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ แบ่งเป็นป่าดงดิบชื้น และบางส่วนที่เป็นป่าพรุที่มี น้ำท่วมขังทั้งปี สามารถท่องเที่ยวได้สะดวกด้วยการเดินตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ดูพรรณไม้ที่น่าสนใจ เช่น ต้นเตียว ต้นชิง ฯลฯ นอกจากนั้น ที่นี่ยังเป็นแหล่งดูนก ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีนกกว่า 300 ชนิด มีนกที่หายากและสูญพันธุ์ จากโลกนี้ไปแล้วเกือบ 100 ปี ซึ่งกลับมาค้นพบที่นี่คือ นกแต้วแร้วท้องดำ และเป็นแหล่งที่มีสระน้ำสวยใสหลายแห่ง อันเกิดมาจากธารน้ำอุ่น ที่สำคัญคือ สระมรกต ที่มีน้ำใสเป็นสีเขียวอมฟ้า เปลี่ยนสีไปได้ตามวันเวลา และสภาพแสง
สระมรกต
สระมรกต
สระมรกต
สระมรกต
สระมรกต
วันเวลาที่แนะนำ
สระมรกต สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปีแต่สภาพที่ดีซึ่งจะเห็นสระเป็นสีเขียวมรกตสดใส มักจะเป็นช่วงเวลาเช้า และเย็น โดยเฉพาะในวันฤดูร้อนที่ท้องฟ้าสดใสปราศจากเมฆฝน
การเดินทางสู่ สระมรกต
เต็มจอสระมรกตข้อมูลแผนที่ ©2010 Tele Atlas, AND, MapIT, Europa Technologies - ข้อกำหนดในการให้บริการแผนที่ดาวเทียม
แสดงป้ายกำกับภูมิประเทศ100 ไมล์200 กม.
คลิกที่แผนที่เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่ของ สระมรกต
จากจังหวัดกระบี่ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 สู่อำเภอคลองท่อม แยกซ้ายมือทางหลวง หมายเลข 4038 มุ่งหน้าอำเภอลำทับ ระหว่างทางมีทางแยกขวามือเป็นทางย่อยแยก เข้าสู่น้ำตกร้อน และสระมรกตที่มีป้ายบอกทางชัดเจน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4
โทร. 0-7621-1036, 0-7621-2213, 0-7621-7138
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อยู่ที่หมู่บ้านบางเตียว ตำบลคลองท่อมเหนือ ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกร้อนคลองท่อม ตามทางหลวงหมายเลข 4038 ก่อนถึงตลาดคลองท่อมจะมีทางแยกไปหมู่บ้านบางเตียว ระยะทาง 17 กิโลเมตร
ลักษณะเป็นป่าที่ราบต่ำ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ สระมรกต เป็นน้ำพุร้อนลักษณะเป็นสระน้ำร้อน 3 สระ น้ำใสเป็นสีเขียวมรกต มีอุณหภูมิประมาณ 30-50 องศาเซลเซียส รอบ ๆ บริเวณเป็นป่าร่มรื่นเขียวครึ้มมีพรรณไม้ที่น่าสนใจ รวมทั้งนกที่หาดูได้ยากเช่น นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเต็นสร้อยคำสีน้ำตาล และนกเงือกดำ เป็นต้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) ซึ่งตั้งชื่อตามคุณทีนา โจลิฟฟ์ ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มความคิดที่จะรักษาอนุรักษ์ป่าดิบชื้นผืนนี้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย เพื่อเป็นการระลึกถึงความตั้งใจและอนุสรณ์สำหรับทีนา ทุ่งเตียว คือส่วนหนึ่งของป่าที่ราบต่ำที่อยู่ติดกับหมู่บ้านบางเตียว ตำบล
คลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
เส้นทางเดินศึกษานี้มีระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายที่จะคอยบอกเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในป่าให้นักเดินทางได้ศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีจุดเริ่มต้นอยู่ก่อนถึงสระมรกตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ประมาณ 800 เมตร โดย
จะผ่านผืนป่าเล็ก ๆ ซึ่งเป็นป่าที่ราบต่ำที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยทางภาคใต้ของประเทศไทย
เส้นทางนี้จะแสดงลักษณะของป่าดิบชื้นที่ราบต่ำอย่างแท้จริง และยังเป็นที่อยู่ของนกแต้วแร้วท้องดำ นกป่าสีสันสวยงามที่กระโดดหากินอยู่ตามพื้นดิน ทำให้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามขึ้น
นอกจากนั้นในป่าแห่งนี้ยังพบนกชนิดอื่น ๆ อีกมากกว่า 300 ชนิด นับเป็นจำนวนที่มากกว่าที่เคยบันทึกไว้ตามเขตอนุรักษ์ต่าง ๆ ทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีมากกว่า 100 ชนิดที่เคยพบตามทางเดินศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ อาทิ นกเขาเปล้า นกโพระดก นกเขียวคราม นกปรอด นกกินปลี นกปลีกล้วย และกระรอกพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีบ้านพักบริการ และมีสถานที่สำหรับกางเต็นท์บริการ
นักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง รายละเอียดติดต่อสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม หมู่ 2 บ้านบางเตียว ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ลักษณะเป็นป่าที่ราบต่ำ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ สระมรกต เป็นน้ำพุร้อนลักษณะเป็นสระน้ำร้อน 3 สระ น้ำใสเป็นสีเขียวมรกต มีอุณหภูมิประมาณ 30-50 องศาเซลเซียส รอบ ๆ บริเวณเป็นป่าร่มรื่นเขียวครึ้มมีพรรณไม้ที่น่าสนใจ รวมทั้งนกที่หาดูได้ยากเช่น นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเต็นสร้อยคำสีน้ำตาล และนกเงือกดำ เป็นต้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) ซึ่งตั้งชื่อตามคุณทีนา โจลิฟฟ์ ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มความคิดที่จะรักษาอนุรักษ์ป่าดิบชื้นผืนนี้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย เพื่อเป็นการระลึกถึงความตั้งใจและอนุสรณ์สำหรับทีนา ทุ่งเตียว คือส่วนหนึ่งของป่าที่ราบต่ำที่อยู่ติดกับหมู่บ้านบางเตียว ตำบล
คลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
เส้นทางเดินศึกษานี้มีระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายที่จะคอยบอกเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในป่าให้นักเดินทางได้ศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีจุดเริ่มต้นอยู่ก่อนถึงสระมรกตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ประมาณ 800 เมตร โดย
จะผ่านผืนป่าเล็ก ๆ ซึ่งเป็นป่าที่ราบต่ำที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยทางภาคใต้ของประเทศไทย
เส้นทางนี้จะแสดงลักษณะของป่าดิบชื้นที่ราบต่ำอย่างแท้จริง และยังเป็นที่อยู่ของนกแต้วแร้วท้องดำ นกป่าสีสันสวยงามที่กระโดดหากินอยู่ตามพื้นดิน ทำให้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามขึ้น
นอกจากนั้นในป่าแห่งนี้ยังพบนกชนิดอื่น ๆ อีกมากกว่า 300 ชนิด นับเป็นจำนวนที่มากกว่าที่เคยบันทึกไว้ตามเขตอนุรักษ์ต่าง ๆ ทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีมากกว่า 100 ชนิดที่เคยพบตามทางเดินศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ อาทิ นกเขาเปล้า นกโพระดก นกเขียวคราม นกปรอด นกกินปลี นกปลีกล้วย และกระรอกพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีบ้านพักบริการ และมีสถานที่สำหรับกางเต็นท์บริการ
นักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง รายละเอียดติดต่อสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม หมู่ 2 บ้านบางเตียว ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
น้ำตกร้อน
น้ำตกร้อน
อ. คลองท่อม จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกร้อน - น้ำตกร้อน
น้ำตกร้อนคลองท่อม ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางคราม-บ้านบางเตียว อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ตามถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) ประมาณ 45 กิโลเมตร จากนั้นแยกเข้าถนนสุขาภิบาล 2 ตรงที่ว่าการอำเภอคลองท่อมไปอีก 12 กิโลเมตร
ที่นี่นับเป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่งในบรรดาน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ น้ำจะไม่ร้อนมาก มีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นน้ำร้อนที่ซึมขึ้นมาจากผิวดินซึ่งมีป่าละเมาะปกคลุมร่มรื่น สายน้ำไหลไปรวมกันตามความลาดเอียงของพื้นที่ บางช่วงมีควันกรุ่นและคราบหินปูนธรรมชาติพอกอยู่เป็นชั้นหนาทำให้เกิดทัศนียภาพสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะบริเวณที่ธารน้ำร้อนไหลลงสู่คลองท่อมลดระดับเกิดเป็นลักษณะคล้ายชั้นน้ำตกเล็ก ๆ ค่าเข้าชม เด็ก 2 บาท ผู้ใหญ่ 5 บาท และชาวต่างประเทศ 10 บาท รถจักรยานยนต์ 5 บาท รถยนต์ 20 บาท
อ. คลองท่อม จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกร้อน - น้ำตกร้อน
น้ำตกร้อนคลองท่อม ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางคราม-บ้านบางเตียว อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ตามถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) ประมาณ 45 กิโลเมตร จากนั้นแยกเข้าถนนสุขาภิบาล 2 ตรงที่ว่าการอำเภอคลองท่อมไปอีก 12 กิโลเมตร
ที่นี่นับเป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่งในบรรดาน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ น้ำจะไม่ร้อนมาก มีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นน้ำร้อนที่ซึมขึ้นมาจากผิวดินซึ่งมีป่าละเมาะปกคลุมร่มรื่น สายน้ำไหลไปรวมกันตามความลาดเอียงของพื้นที่ บางช่วงมีควันกรุ่นและคราบหินปูนธรรมชาติพอกอยู่เป็นชั้นหนาทำให้เกิดทัศนียภาพสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะบริเวณที่ธารน้ำร้อนไหลลงสู่คลองท่อมลดระดับเกิดเป็นลักษณะคล้ายชั้นน้ำตกเล็ก ๆ ค่าเข้าชม เด็ก 2 บาท ผู้ใหญ่ 5 บาท และชาวต่างประเทศ 10 บาท รถจักรยานยนต์ 5 บาท รถยนต์ 20 บาท
น้ำตกหินเพิง
น้ำตกหินเพิง
อ. คลองท่อม จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกหินเพิง - น้ำตกหินเพิง
น้ำตกหินเพิง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านหินเพิง ตำบลคลองพน ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อม 25 กิโลเมตร ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) เมื่อถึงตำบลคลองพนแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 8 กิโลเมตร
การเที่ยวชมน้ำตกหินเพิงจะต้องเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาประมาณ 400 เมตร จะถึงบริเวณน้ำตกหินเพิงที่ไหลมาจากยอดหน้าผาที่สูงชัน
อ. คลองท่อม จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - น้ำตกหินเพิง - น้ำตกหินเพิง
น้ำตกหินเพิง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านหินเพิง ตำบลคลองพน ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อม 25 กิโลเมตร ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) เมื่อถึงตำบลคลองพนแล้วให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 8 กิโลเมตร
การเที่ยวชมน้ำตกหินเพิงจะต้องเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาประมาณ 400 เมตร จะถึงบริเวณน้ำตกหินเพิงที่ไหลมาจากยอดหน้าผาที่สูงชัน
พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม
อ. คลองท่อม จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม - พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม
พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม ตั้งอยู่บริเวณวัดคลองท่อม บนถนนเพชรเกษม หลักกิโลเมตรที่ 71"72 ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อมประมาณ 1 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บสะสมสิ่งของ วัตถุโบราณจำนวนมากมายที่ขุดค้นพบได้ในบริเวณที่เรียกว่า "ควนลูกปัด" อันเป็นเนินดินหลังวัดคลองท่อม อาทิ เครื่องมือหิน เครื่องประดับซึ่งทำจากหินและดินเผา รูปสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ เก่าแก่ของมนุษย์สมัยเมื่อ 5,000 ปีเศษมาแล้ว เปิดให้เข้าชมเวลา 8.30"11.00 น. และ 13.00"17.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
ข้อมูลทั่วไป - พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม - พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม
พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม ตั้งอยู่บริเวณวัดคลองท่อม บนถนนเพชรเกษม หลักกิโลเมตรที่ 71"72 ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อมประมาณ 1 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บสะสมสิ่งของ วัตถุโบราณจำนวนมากมายที่ขุดค้นพบได้ในบริเวณที่เรียกว่า "ควนลูกปัด" อันเป็นเนินดินหลังวัดคลองท่อม อาทิ เครื่องมือหิน เครื่องประดับซึ่งทำจากหินและดินเผา รูปสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ เก่าแก่ของมนุษย์สมัยเมื่อ 5,000 ปีเศษมาแล้ว เปิดให้เข้าชมเวลา 8.30"11.00 น. และ 13.00"17.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กองหินม่วงและกองหินแดง
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - กองหินม่วงและกองหินแดง - กองหินม่วงและกองหินแดง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เป็นกองหินใต้น้ำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน เป็นจุดดำน้ำลึกที่มีปะการังอ่อนสวยงามมากรวมทั้งสัตว์ทะเลนานาชนิด
กิจกรรม - ดำน้ำลึก
แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่ - แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีหาดทรายสวยงามอยู่ทางด้านหลังเกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่ใกล้เคียง เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ที่อยู่ปลายสุดของเกาะลันตาใหญ่ มีลักษณะเป็นที่ราบรูปสามเหลี่ยมปลายด้านหนึ่งยื่นออกไปในทะเล มีต้นตาลสูงเด่น อีกด้านหนึ่งเป็นเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยป่าดงดิบ
บริเวณแหลมโตนดนี้ มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมบนเกาะ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหารสวัสดิการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วย
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
แหลมโตนด
แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่ - แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีหาดทรายสวยงามอยู่ทางด้านหลังเกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่ใกล้เคียง เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ที่อยู่ปลายสุดของเกาะลันตาใหญ่ มีลักษณะเป็นที่ราบรูปสามเหลี่ยมปลายด้านหนึ่งยื่นออกไปในทะเล มีต้นตาลสูงเด่น อีกด้านหนึ่งเป็นเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยป่าดงดิบ
บริเวณแหลมโตนดนี้ มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมบนเกาะ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหารสวัสดิการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วย
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่ - แหลมโตนด เกาะลันตาใหญ่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีหาดทรายสวยงามอยู่ทางด้านหลังเกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่ใกล้เคียง เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ที่อยู่ปลายสุดของเกาะลันตาใหญ่ มีลักษณะเป็นที่ราบรูปสามเหลี่ยมปลายด้านหนึ่งยื่นออกไปในทะเล มีต้นตาลสูงเด่น อีกด้านหนึ่งเป็นเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยป่าดงดิบ
บริเวณแหลมโตนดนี้ มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมบนเกาะ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหารสวัสดิการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วย
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เกาะหินห้าลูก
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - เกาะหินห้าลูก - เกาะหินห้าลูก
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เกาะหินห้าลูก หรือเกาะห้า หรือเกาะตุกนลิมา เป็นกลุ่มเกาะ 5 เกาะ เกาะห้าใหญ่จะมีลักษณะของทุ่งหญ้าอยู่บนสันเกาะ มีเกาะรูปคล้ายใบเรือ เป็นเกาะที่มีน้ำลอดได้เมื่อขึ้นอยู่บนสันเกาะจะมีมุมทิวทัศน์ที่สวยงาม ในบริเวณดังกล่าวมีปะการังน้ำตื้น
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - ดำน้ำตื้น
ข้อมูลทั่วไป - เกาะหินห้าลูก - เกาะหินห้าลูก
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เกาะหินห้าลูก หรือเกาะห้า หรือเกาะตุกนลิมา เป็นกลุ่มเกาะ 5 เกาะ เกาะห้าใหญ่จะมีลักษณะของทุ่งหญ้าอยู่บนสันเกาะ มีเกาะรูปคล้ายใบเรือ เป็นเกาะที่มีน้ำลอดได้เมื่อขึ้นอยู่บนสันเกาะจะมีมุมทิวทัศน์ที่สวยงาม ในบริเวณดังกล่าวมีปะการังน้ำตื้น
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - ดำน้ำตื้น
อ่าวศาลเจ้า
อ่าวศาลเจ้า
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - อ่าวศาลเจ้า - อ่าวศาลเจ้า
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีหาดทราย บริเวณนี้มีน้ำซับซึมออกมาในช่วงฤดูแล้ง เป็นแหล่งน้ำที่สามารถใช้ได้ตลอดปี มีศาลของชาวประมงที่สร้างขึ้นไว้สักการะบูชา
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ชมวัฒนธรรมประเพณี
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - อ่าวศาลเจ้า - อ่าวศาลเจ้า
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีหาดทราย บริเวณนี้มีน้ำซับซึมออกมาในช่วงฤดูแล้ง เป็นแหล่งน้ำที่สามารถใช้ได้ตลอดปี มีศาลของชาวประมงที่สร้างขึ้นไว้สักการะบูชา
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ชมวัฒนธรรมประเพณี
อ่าวม่านไทร
อ่าวม่านไทร
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - อ่าวม่านไทร - อ่าวม่านไทร
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีสภาพป่าผสมกันระหว่างป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าดงดิบ หากเดินลึกเข้าไปในป่าจะพบต้นไทรขนาดใหญ่ที่ปล่อยรากย้อยลงมาประดุจม่าน ที่มีความกว้างประมาณ 5-6 เมตร บริเวณชายหาด น้ำค่อนข้างตื้น เหมาะสำหรับการเล่นน้ำและดำน้ำดูปะการัง
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ดำน้ำตื้น
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - อ่าวม่านไทร - อ่าวม่านไทร
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา มีสภาพป่าผสมกันระหว่างป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าดงดิบ หากเดินลึกเข้าไปในป่าจะพบต้นไทรขนาดใหญ่ที่ปล่อยรากย้อยลงมาประดุจม่าน ที่มีความกว้างประมาณ 5-6 เมตร บริเวณชายหาด น้ำค่อนข้างตื้น เหมาะสำหรับการเล่นน้ำและดำน้ำดูปะการัง
กิจกรรม - กิจกรรมชายหาด - ดำน้ำตื้น
จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก
จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก - จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จากหาดทะลุ ที่มีหาดทรายขาวละเอียด สามารถเดินทะลุผ่านไปอีกด้านหนึ่งของเกาะรอกนอก จะพบอ่าวโค้งคล้ายเกือกม้า สองด้านของอ่าวเป็นหน้าผาหินสูงชัน ชายหาดด้านนี้เป็นหาดหิน และน้ำลึก ไม่เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ตามเส้นทางเดินจะพบป้ายบอกทางไปยังจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดชมทิวทัศน์นี้ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน ยามเย็นสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้ การเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมทิวทัศน์ค่อนข้างชันพอสมควร นักท่องเที่ยวควรเดินด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรยืนชิดขอบหน้าผาจนเกินไป เพราะอาจเกิดอันตรายได้
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก - จุดชมทิวทัศน์เกาะรอกนอก
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จากหาดทะลุ ที่มีหาดทรายขาวละเอียด สามารถเดินทะลุผ่านไปอีกด้านหนึ่งของเกาะรอกนอก จะพบอ่าวโค้งคล้ายเกือกม้า สองด้านของอ่าวเป็นหน้าผาหินสูงชัน ชายหาดด้านนี้เป็นหาดหิน และน้ำลึก ไม่เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ตามเส้นทางเดินจะพบป้ายบอกทางไปยังจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดชมทิวทัศน์นี้ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเกาะรอกนอกและเกาะรอกใน ยามเย็นสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้ การเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมทิวทัศน์ค่อนข้างชันพอสมควร นักท่องเที่ยวควรเดินด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรยืนชิดขอบหน้าผาจนเกินไป เพราะอาจเกิดอันตรายได้
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้
แหลมธง
แหลมธง
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - แหลมธง - แหลมธง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อยู่ทางด้านทิศเหนือหรือหัวเกาะรอกใน ด้านที่เป็นโขดหน้าผามองคล้ายเป็นเกาะเล็กๆ หากยืนมองที่หาดด้านตรงข้ามจะเห็นพระอาทิตย์ตกระหว่างช่องนั้น
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์
อ. เกาะลันตา จ. กระบี่
ข้อมูลทั่วไป - แหลมธง - แหลมธง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อยู่ทางด้านทิศเหนือหรือหัวเกาะรอกใน ด้านที่เป็นโขดหน้าผามองคล้ายเป็นเกาะเล็กๆ หากยืนมองที่หาดด้านตรงข้ามจะเห็นพระอาทิตย์ตกระหว่างช่องนั้น
กิจกรรม - ชมทิวทัศน์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)